Course Syllabus
๑. รหัสวิชา:SO ๒๐๐๗
๒. ชื่อวิชาภาษาไทย:พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และการเลือกตั้ง
๓. ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ:Political Party, Interest Group and Election
๔. ระดับวิชา:ระดับปริญญาตรี
๕. จำนวนหน่วยกิต:๓(๓-๐-๖)
๖. สังเขปวิชา (Course description)
ศึกษาลักษณะ ประเภทและหน้าที่ของพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และการเลือกตั้ง การจัดองค์การของพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และการ ตลอดจน บทบาทของพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และการเลือกตั้งในทางการเมืองและการปกครองตามระบอบเสรีประชาธิปไตย
๗. ภาคการศึกษา/ปีการศึกษาที่เปิดสอน ภาคการศึกษาที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๔
๘. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา/ผู้สอนและภาระงานสอน
พลเรือตรี รองศาสตราจารย์ ทองใบ ธีรานันทางกูร
๑.) เปรียญธรรม ๙ ประโยค จาก สำนักวัดมหรรณพาราม พ.ศ. ๒๕๑๖
๒.) พุทธศาสตรบัณฑิต(เกียรติยมอันดับ ๒) สาขามานุษยสงเคราะห์ศาสตร์ จาก คณะมานุษยสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๖
๓.) Master of Arts in Political Science จาก Panjab University, India, 1975
๔.) Master of Philosophy in International Relations จาก London School of Economics and Political Science, University of London, United Kingdom, 1984
สถานที่ติดต่ออาจารย์ :
ห้อง เรียนวัดโกเมศรัตนาราม
E-mail: thongbai_thira@yahoo.com
๙. วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objective)
เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว
๑.)นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจการก่อเกิดและวิวัฒนาการของกลุ่มทางการเมือง ประเภทของกลุ่มทางการเมือง โครงสร้างและบทบาทของกลุ่มทางการเมืองได้
๒.)นักศึกษามีความเข้าใจ สามารถอธิบาย วิเคราะห์หน้าที่ของพรรคการเมืองกลุ่มผลประโยชน์ และการเลือกตั้งกระบวนทางการเมืองในสังคมเสรีประชาธิปไตยได้
๓.)นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ลักษณะ บทบาท และหน้าที่ของพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และการเลือกตั้งในประเทศไทยได้
๑๐. คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่ต้องการสอดแทรกในรายวิชา
มีความรอบรู้ในวิชาการทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ มีความสามารถในการคิดและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถครองตัวอยู่ในสังคมได้อย่างเต็มภาคภูมิ
๑๑. กิจกรรมการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้
๑)รูปแบบการสอนเป็นแบบบรรยายและสัมมนา และมอบหมายให้ทำรายงาน
๒)สื่อการสอนได้แก่ เอกสาร/ตำรา, งานวิจัย, บทความ เว็บไซต์ PowerPoint
๑๒. รายชื่อตำรา หนังสือ แหล่งค้นคว้าอ้างอิงเพิ่มเติม
กนก วงษ์ตระหง่าน. พรรคการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๖.
กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๖.
จุมพล หนิมพานิช. กลุ่มผลประโยชน์กับการเมืองไทย.นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๕.
ชินสัคค สุวรรณอัจฉริย. เครือข่ายทางสังคม. มหาสารคาม: สนพ.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ๒๕๔๙.
เชาวนะ ไตรมาศ. นโยบายพรรคการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา, ๒๕๔๗.
นรนิติ เศรษฐบุตร. กลุ่มราชครูในการเมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๓.
บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. การเลือกตั้ง และพรรคการเมือง : บทเรียนจากเยอรมัน. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา, ๒๕๔๒.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. บทบาทของพรรคการเมืองไทยในการจัดตั้งรัฐบาลผสม. กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ๒๕๔๑.
รังสรรค์ ธนะพรพันธ์. คู่มือการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, ๒๕๔๔.
รังสรรค์ ธนะพรพันธ์. เศรษฐศาสตร์รัฐธรรมนูญ บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน,๒๕๔๖.
รังสรรค์ ธนะพรพันธ์. เศรษฐศาสตร์รัฐธรรมนูญ บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน,๒๕๔๖.
รังสรรค์ ธนะพรพันธ์. เศรษฐศาสตร์รัฐธรรมนูญ บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 เล่ม ๓. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน,๒๕๔๗.
ลิขิต ธีรเวคิน. การเมืองการปกครองไทย.พิมพ์ครั้งที่ 7 (แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๘.
ลิขิต ธีรเวคิน. วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย.พิมพ์ครั้งที่ 8 (แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๔.
วิทยา นภาศิริกุลกิจ และ สุรพล ราชภัณฑารักษ์. พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์. พิมพ์ครั้งที่ 8, กรุงเทพฯ: สนพ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๓๙.
วิทยา สุจริตธนารักษ์. พรรคการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ศึกษาเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และมาเลเซีย. สีดา สอนศรี (บรรณาธิการ), พิมพ์ครั้งที่ ๑, กรุงเทพฯ: พัฒนวิจัย, ๒๕๔๖.
สิริพรรณ นกสวน และ เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา(บรรณาธิการ). คำและความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย.
สีดา สอนศรี และคณะ. การเลือกตั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : ศึกษาเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,๒๕๔๗.
สุจิต บุญบงการ. การพัฒนาทางการเมืองของไทย:ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,๒๕๓๗.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. สองนคราประชาธิปไตย : แนวทางการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ เพื่อประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๓๘.
อานนท์ อาภาภิรม. รัฐศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๕.
อานนท์ อาภาภิรม. รัฐศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๕.
๑๓. กิจกรรมและการวัดผลประเมินผล
๑)ใช้การประเมินแบบ letter grade (A, B+, B, C+, C, D+, D, F)
๒)สนใจเข้าชั้นเรียน ๕ %
๓)รายงานกลุ่ม ๑๐ %
๓)รายงานกลุ่ม ๑๐ %
๔)กิจกรรมกลุ่มระหว่างเรียน ๑๕ %
๕)สอบกลางภาค ๓๕ %
๖)สอบปลายภาค ๓๕ %
โครงแผนการสอน
รหัส SO๒๐๐๗ ชื่อวิชา พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และการเลือกตั้ง ๓(๓-๐-๖)
สัปดาห์ที่/เรื่อง/หัวข้อ
สัปดาห์ที่ ๑ แนะนำรายวิชา เนื้อหา ขอบเขต และแนวการศึกษา
สัปดาห์ที่ ๒ ความหมายของพรรคการเมือง
สัปดาห์ที่ ๓ หน้าที่และบทบาทของพรรคการเมือง
สัปดาห์ที่ ๔ กำเนิดและวิวัฒนาการของพรรคการเมือง
สัปดาห์ที่ ๕ ลักษณะทั่วไปของโครงสร้างพรรคการเมือง
สัปดาห์ที่ ๖ สมาชิกพรรคการเมือง
สัปดาห์ที่ ๗ รูปแบบของระบบพรรคการเมือง
สัปดาห์ที่ ๘ สอบกลางภาค
สัปดาห์ที่ ๙ ความหมายของกลุ่มผลประโยชน์
สัปดาห์ที่ ๑๐ ลักษณะทั่วไปของกลุ่มผลประโยชน์
สัปดาห์ที่ ๑๑ กลุ่มผลประโยชน์ในสหราชอาณาจักร แคนาดาและสหรัฐอเมริกา
สัปดาห์ที่ ๑๒ ลักษณะทั่วไปของการเลือกตั้ง
สัปดาห์ที่ ๑๓ ระบบการเลือกตั้ง
สัปดาห์ที่ ๑๔ การนำเสนอรายงานของกลุ่ม
สัปดาห์ที่ ๑๕ การนำเสนอรายงานของกลุ่ม
สัปดาห์ที่ ๑๖ สอบปลายภาค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น